วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

จิตรกรรมฝาผนังไทยสมัยประวัติศาสตร์

วิวัฒนาการของจิ ตรกรรมฝาผนังไทย
                จิตรกรรมในประเทศไทยมี มาตั้งแต่สมัยโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจิตรกรรมแต่ละยุคแต่ละสมัยแสดงถึงลักษณะของศิลปวัฒนธรรมของคนกลุ่มนั้นๆไว้อย่างวิจิตรงดงาม และมีจิตรกรรมไทยเป็นจำนวนที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปกรรมที่สำคัญของโลก รูปแบบของจิตรกรรมไทยที่มีวิวัฒนาการดําเนินเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนมีลักษณะแบบแผนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวนั้นสามารถแบ่งเป็นยุคสมัยตามวิวัฒนาการของงานได้ดังต่อไปนี้

1.  จิ ตรกรรมฝาผนังสมัยทวาราวดี
เป็นจิตรกรรมเริ่มแรกในสมัยประวัติศาสตร์เป็นภาพลายเส้นสลักบนแผ่นหิน แผ่นอิ ฐและแผ่นโลหะ เป็นรูปคน สัตว์และลวดลาย มีอิทธิพลของศิลปะแบบคุปตะ จากประเทศอินเดีย ภาพเขียน สี รูปคน และภาพลวดลายเรขาคณิต กับลายพันธุ์ พฤกษาบนแผ่นอิฐ ในพุทธศตวรรษที่  11 - 12 ภาพคนเขียนด้วยสีขาว ส่วนภาพลวดลายบนแผ่นอิฐเขียนด้วยสีแดง ดํา ดินเหลือง และขาว และได้พบการเขียนสีบนภาพนูนต่ํา และปูนปั้นประดับอาคารมี ภาพบนน้ําปูนเป็นจํานวนมากที่ ทําให้สันนษฐานว่าสมัยทวาราวดีอาจมี บางแห่งเขียนด้วยวิธีเขียนสีปูนเปียก

2.  จิตรกรรมฝาผนังสมัยศรีวิชัย
สมัยศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 - 14 ภาพจิตรกรรมฝาผนังในถ้ําศิลป์  จังหวัดยะลา  มีลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ เห็นได้จากความกลมกลืนของภาพ ซึ่งเขียนด้วยความมุ่งหมายทางพุทธศาสนา อันเป็นอิทธิพลจากประติมากรรมชวา ภาพเขียนด้วยสีฝุ่นบนพืนผนังถ้ําที่เตรียมรองพื้นด้วยสีขาว สีที่ใช้มีดินเหลือง ดํา (เขม่าไฟ) ดินแดง


3.  จิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัย
               พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 จิ ตรกรรมส่วนใหญ่ เน้นหนั กไปทางลายเส้น เช่น ภาพลายเส้นที่  วัดศรีชุม ซึ่งเป็นภาพชาดกต่างๆ แม้เป็นภาพลายเส้นบนหิน แต่มีลักษณะตัวภาพที่ อ่อนหวานตามธรรมชาติ เป็นอิทธิพลของศิลปกรรม จากอินเดียและศรีลังกา ซึ่งเป็นแบบอย่างของจิตรกรรมไทยในยุคต่อมา นอกจากภาพลายเส้นบนแผ่นหินแล้วได้พบจิตรกรรมอีกหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่มีสภาพ ชำรุดมาก เช่น ภาพเขียนสีเอกรงค์ ที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ก็คงจะวาดขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 19 เช่นเดียวกันอยู่ในเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่ผนังซุ้มเจดีย์องค์ใหญ่ มี ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ประทับเหนือ บัลลังก์นาค 8 เศียร แล้วได้พบจิตรกรรมในกรุเจดีย์ อีกองค์หนึ่งเป็นภาพบุคคลขี่ม้า เห็นได้เพียงลางๆเข้าใจว่าเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ เช่นกัน จิตรกรรมแห่งนี้ มีลักษณะพิเศษที่ทําให้เป็นความน่าสนใจ คือความแตกต่างของแบบอย่างระหว่างองค์พระพุทธรูป กับรูปอื่นๆ เพราะองค์พระพุทธรูป เป็นศิลปะแบบสุโขทัย  ภาพกษัตริย์ยังคงมีอิทธิของศิลปะศรีลังกา และพระพุทธรูปมีลักษณะทรวดทรงทางกายวิภาค สีที่ใช้ ได้แก่ สีแดง ขาว ดํา เขียนเป็นประเภทเอกรงค์ ปิดทอง เป็นภาพเขียนสีฝุน (Saco Technique) การผสมสี  (Medium) ใช้กาวหนังสัตว์ หรือยางไม้

4.  จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา
จิตรกรรมสมัยอยุธยา คือ จิตรกรรมไทยประเพณีที่มีอายุเริ่มตั้งแต่การสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. 1893 จนถึงเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 ลักษณะของจิตรกรรมสมัยอยุธยาที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นจิตรกรรมที่เกิดขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งจิตรกรรมมีลักษณะเป็นงานที่มีรูปแบบองค์ประกอบ  เทคนิค และวัฒนธรรม ตาม แบบจิตรกรรมไทยประเพณีภาคกลาง ที่ได้รับอิทธิพลหรือมีครูจากกรุงศรีอยุธยา  ลักษณะศิลปกรรม จึงเป็นแบบที่เกิดจากราชสำนักและถ่ายทอดต่อไปยังเมืองต่างๆ ได้แก่ อ่างทอง ลพบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี กรุงเทพ ฯลฯ
ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นคงมีจิตรกรรมเป็นเครื่องประดับอาคารศาสนสถาน พระบรมมหาราชวัง  ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จิตรกรรมเป็นงานละเอียดอ่อนและ บอบบาง จึงชำรุดและสญเสียไปได้ง่าย การศึกษาเกี่ยวกับจิตรกรรมสมัยอยุธยา จึงจำเป็นจะต้องหาจากหลักฐานต่าง เท่าที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น
ลักษณะภายในของอาคารสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนมากมีขนาดสูงใหญ่  มีเสารวมในประธานรับเครื่องบน ที่มลวดลายประดับอย่างวิจิตร อาคารแบบนี้ไม่มีหน้าต่างแต่มีช่องลม หรือช่องแสงสว่างขนาดเล็ก สูงพอเหมาะกับความสูงของฝาผนังและเรียงกันในแนวตั้งเป็นกลุ่มๆ ระหว่างขื่อ อย่างเช่น อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ พระวิหารธรรมิกราช  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ลักษณะเช่นนี้ยังนิยมสืบมาจนถึง สมัยพระนารายณ์มหาราชด้วย  แต่อาคารมีขนาดเล็กลง เช่น พระอุโบสถวัดกวิศราราม จังหวัดลพบุรี ลักษณะของสถาปตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายที่นิยมมากอีกแบบหนึ่ง คือ มีรูปแบบของอาคารสูง ระหงชายคาอยู่ชิดฝาผนังไม่ทอดลงมาต่ำมากอย่างยุคแรก ดังนั้นที่ฝาผนังด้านข้างจึงเป็นฝาผนังทึบ โดยตลอดไม่มีหน้าต่างเลย แต่มีประตูที่ฝาผนังหุ้มกลองด้านหน้า  และด้านหลังและบางแห่งมีช่องลม หรือช่องแสงสว่างที่ฝาผนังช่วงบนด้วย อาคารแบบนี้จึงมีมุขโถงที่สง่างามอยู่ทางด้านหน้าของอาคาร และหลังอาคาร เพื่อกั้นแดดฝนสาดเขาสู่ประตู อาคารดังกล่าวนี้ล้วนประดับผนังด้วยภาพจิตรกรรมที่งดงาม เช่น พระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรีเป็นต้น ซึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนงที่อยู่ ภายในอาคารต่างๆนั้นเราสามารถสรุป ลักษณะโดยสังเขปของลักษณะจิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยา ได้ดังนี้
4.1  สี ในระยะแรกจิตรกรรมมีสีอยู่ในวรรณะเอกรงค์ สีที่ใช้มีสีแดง เหลือง ดำ และขาว ในระยะต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้สีต่างๆเริ่มเข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด เช่นสี แดงชาติ และเขียวจากจีน ดินแดงเทศจากอินเดียและเปอร์เซีย  น้ำเงินจากยุโรป การมีสีสมัยใหม่ซึ่ง เป็นวรรณะสดใสสวยงามเขามาแพร่หลายทำให้ช่างเขียนเกิดความนิยม อันเป็นผลให้จิตรกรรมในระยะเวลาต่อมามีวรรณะเป็นพหุรงค์ และเป็นที่นิยมสืบต่อมาจนปัจจุบัน
4.2  เรื่อง ระยะแรกนิยมเขียนเรื่องดีตพุทธ พระอัครสาวก มีลวดลายซุ้มแบบต่างๆ ประดับเป็นพื้นหลัง บางแห่งมีแทรกเป็นภาพพุทธประวัติ ชาดก ภาพคนจีน และลายกระบวนจีน ต่อมานิยมเขียน ภาพพุทธประวัติ  ทศชาติชาดก ไตรภูมิ  ภาพบุคคลต่างชาติ  ภาพเรื่องพระพุทธบาท ภาพเทพชุมนุมและภาพลวดลายกระหนก ลายเครือวัลย์ ลายพรรณพฤกษาที่มีลักษณะต่างๆกันและ งดงามมาก เป็นภาพที่เขียนขึ้นด้วยความศรัทธา เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
4.3  การจัดกลุ่มภาพ ในระยะแรกนิยมแบ่งภาพเป็นแถวในแนวระดับ และซ้อนต่อขึ้น ไปเป็นชั้นๆ  จนจรดเพดาน ภาพดังกล่าวนิยมประดับอยู่ในกรุเจดียหรือปรางค์  ส่วนการเขียนในโบสถ วิหารมักจัดกลุ่มภาพตามขนาด และลักษณะของฝาผนัง มีการลำดับกลุ่มภาพด้วยลวดลายเส้นลวด เส้นสินเทา หรือแบ่งด้วยลวดลายอื่น
4.4  ภาพบุคคล จะมีลัษณะพิเศษ  ภาพเทพ กษัตริย์ นางกษัตริย์ มีความประณีตงดงามมีรูปแบบคล้ายกัน เป็นความงามตามแบบอุดมคติ รูปแบบของ ใบหน้า มือ และเท้านั้น จะคล้ายกับประติมากรรมสมัยอยุธยาที่มีอายุใกล้เคียงกัน ส่วนภาพกากจะแตกต่างกันในแต่ละที่ แต่ละวัฒนธรรม
4.5  ภาพทิวทัศน นิยมเขียนภาพต้นไม้ที่มีลักษณะคดโคง ดอกสีสดใส ตัดเส้นใบอย่างมีระเบียบ ในยุคแรกภาพทิวทัศน์มีทัศนียภาพแบบโบราณ (Primitive  Perspective) ต่อมาค่อยๆเปลี่ยน ไปเป็นแบบทัศนวิสัยแบบเส้นขนาน (Parallel Perspective)
4.6  ภาพสถาปัตยกรรม แสดงรูปแบบที่มีลักษณะตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา อันวิจิตรงดงามมาก
4.7  การปิดทอง นิยมปิดที่ภาพสำคัญ เพื่อให้ภาพมีประกายแวววาว มีลักษณะเด่นสะดุด ตา ส่วนการปิดทองนั้นมีลักษณะพิเศษคือ  นิยมใช้สีแดงชาติซับหนุนทอง ทำให้ทองคำเปลวมีประกาย สุกใสมากยิ่งขึ้น
4.8  การประดับพื้นหลัง  นิยมทำภาพลายดอกไม้ร่วง ที่ภาพพื้นหลังส่วนใหญ่เป็นสีแดง บางแห่งลายดอกไม้ร่วงจะมีการปิดทอง  แทนการเขียนสี ซึ่งลวดลายใบไม้ร่วงจะคอยๆหายไปในสมัยรัตนโกสินทร์




5. จิตรกรรมฝาผนังสมัยธนบุรี
ศิลปะสกุลช่างธนบุรีมีระยะเวลาอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2200 - 2350 งานทางด้านจิตรกรรมฝาผนงที่จัดอยู่ในสกุลช่างนี้มีจิตรกรรมฝาผนังวัดปราสาท อ. บางกรวย จ. นนทบุรี  จิตรกรรมฝาผนังวัดช่องนนทรี อ.ยานนาวา กุรงเทพฯ สมุดภาพไตรภูมิฉบับช่างหลวง เขียนขึ้นตามพระบรมราชโองการสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในปี พ.ศ. 2519 และจิตรกรรมฝาผนังวัด ราชสิทธาราม (วดพลับ)  อ.บางกอกใหญ่ จ. ธนบุรี  จิตรกรรมฝาผนัง 2 แห่งหลังนี้เขียนขึ้นใน ตอนต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ผู้เขียนจัดเป็นจิตรกรรมสกุลช่างธนบุรี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น